หากเราจะดูกันที่ “ความหมายของห้องสมุดประชาชน” เป็นที่ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศแก่ประชาชนในท้องถิ่นโดยไม่จำกัดวัย ระดับความรู้ เชื้อชาติและศาสนา เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนแต่ละแห่ง เป็น การส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองตลอดชีวิตของประชาชนในชุมชน
จากเป้าหมายของนโยบายการอ่านในช่วงแรก คือการลดอัตราการไม่รู้หนังสือจึงต้องเปิดช่องทางให้คนมีโอกาสเข้าถึงหนังสืออย่างกว้างขว้าง ที่เน้นการเข้าถึงความรู้ผ่านการศึกษาในระบบและนอกระบบ ตลอดทั้งการใช้ห้องสมุดทุกประเภท
“New Normal” คืออะไร?
ราชบัณฑิตยสภา ได้บัญญัติศัพท์ "New Normal“ แปลว่า ความปกติใหม่ , ฐานวิถีชีวิตใหม่ หมายถึง รูปแบบการดำเนินชีวิตอย่างใหม่ที่แตกต่างจากอดีต อันเนื่องจากมีบางสิ่งมากระทบ จนแบบแผน และแนวทางปฏิบัติที่คนในสังคมคุ้นเคยอย่างเป็นปกติและเคยคาดหมายล่วงหน้าได้ ต้องเปลี่ยนแปลงไปสู่วิถีใหม่ภายใต้หลักมาตรฐานใหม่ที่ไม่คุ้นเคยรูปแบบวิถีชีวิตใหม่ ประกอบด้วย
1. วิธีคิด
2. วิธีเรียนรู้
3. วิธีสื่อสาร
4. วิธีปฏิบัติและการจัดการ
ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) เป็นแนวทางที่หลาย ๆ คนจะต้อง ปรับเปลี่ยนชุดพฤติกรรม ในช่วงไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ระบาดแล้วเปลี่ยนชีวิตเราไปอีกนาน ทำให้เราต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบวิถีชีวิตไปพร้อมกันทั่วโลก จากที่เราเคยออกจากบ้าน เพื่อไปทำงาน ไปโรงเรียน เราต้องหันมาทำทุกอย่างที่บ้าน หากมีความจำเป็นต้องออกจากบ้านไปซื้อของหรือแม้กระทั่งไปพบแพทย์ เราต้องใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันโรคต้องเว้นระยะห่างสำหรับบุคคล ล้างมือบ่อยๆนาน 20 วินาที ล้างมือด้วยแอลกอฮอล์ รวมถึงการปรับเปลี่ยนทางด้านธุรกิจและบริการต่าง ๆ การเปิดระบบลงทะเบียนออนไลน์ การใช้ระบบซื้อขายและบริการทางออนไลน์
สิ่งนี้ เกิดเป็นวิถีใหม่ในการดำรงชีวิต ซึ่งเมื่อเราจำต้องปฏิบัติกันเป็นปกติต่อเนื่องในระยะเวลาหนึ่ง จนเกิดเป็นความพอใจ ในที่สุดทั้งหมดนี้ก็ได้กลายเป็น New Normal ในสังคมของเราท่านไปนั่นเอง
ห้องสมุดถือเป็นอีกหนึ่งการให้บริการที่ต้องมีการปรับตัว เพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ของโควิด-19 โดยเน้นการทำความสะอาดหนังสือและพื้นที่ห้องสมุดอยู่เสมอ เน้นให้บริการผ่านรูปแบบออนไลน์มากขึ้น พร้อมเพิ่มบริการที่หลากหลาย เพื่อลดความเสี่ยงจากโควิด-19
No comments:
Post a Comment