บทบาทหน้าที่ภารกิจ กศน.ตำบล
1.กศน.ตำบลตลิ่งชันจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานหลักสูตร 2551
2.กศน..ตำบลตลิ่งชันเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3.กศน.ตำบลตลิ่งชันเป็นศูนย์ดิจิทัลชุมชนต้นแบบ...อ่านต่อ
บทบาทหน้าที่ภารกิจ กศน.ตำบล
1.กศน.ตำบลตลิ่งชันจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานหลักสูตร 2551
2.กศน..ตำบลตลิ่งชันเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3.กศน.ตำบลตลิ่งชันเป็นศูนย์ดิจิทัลชุมชนต้นแบบ...อ่านต่อ
ปัจจุบัน บริษัท ทรานส์ ไทย-มาเลเซีย (ประเทศไทย) จำกัด หรือ ทีทีเอ็ม ในฐานะผู้ดำเนินการดำเนินงานโครงการท่อส่งก๊าซและโรงแยกก๊าซธรรมชาติไทย-มาเลเซีย มีความตั้งใจและตระหนักในการจัดหาและนำส่งพลังงานสะอาด เพื่อเพิ่มความมั่นคงทางพลังงานของประเทศภายใต้กระบวนการผลิตและระบบการขนส่งที่มีความปลอดภัยสูง ทั้งต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม ทีทีเอ็มตระหนักและยึดมั่นในสัญญาประชาคมและเจตนารมย์ในการร่วมพัฒนาสังคมและชุมชนท้องถิ่นของจังหวัดสงขลาและประเทศไทยให้มีความเจริญก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้นไป……"ทีทีเอ็ม ความร่วมมือเพื่อพลังงานที่ยั่งยืน"………อ่านต่อ
เป็นอาชีพดั้งเดิมตั้งแต่บรรพบุรุษ บ้านตลิ่งชันนั้นมีอาชีพประมงในการดำรงชีวิตเป็นหลัก โดยใช้เรือประมงในการออกทะเลหรืออีกวิธีหนึ่งจะใช้อวนในการจับ ปลา กุ้ง ปู ซึ่งการใช้งานขึ้นอยู่กับความชำนาญของแต่ละคนและวิธีการใช้งาน...อ่านต่อ
ที่ตั้ง: หมู่ที่ 3 บ้านป่างาม ตำบลตลิ่งชัน อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
การก่อตั้งกลุ่มผลิตภัณฑ์ข้าวยำกรอบ เนื่องจากเป็นสินค้าแปลกใหม่ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีจะต่อยอดสินค้าที่มีอยู่โดยจะผลิตในรูปแบบที่ไม่เหมือนใครด้วยนวัตกรรมใหม่ปรับเปลี่ยนจากข้าวยำสดเป็นข้าวยำสำเร็จรูปที่สามารถนำมารับประทานได้โดยทันที อิ่มอร่อย ได้ทุกที่สะดวกต่อการพกพา
ความโดดเด่น...อ่านต่อ
แหล่งเรียนรู้ : เป็นแหล่งเรียนรู้ในด้านหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การเพาะเห็ด
การเลี้ยงไก่ การปลูกผักในล้อยาง การปลูกมะนาวในท่อซีเมนต์ การปลูกผักสวนครัว สัตว์น้ำทะเลแปรรูป...อ่านต่อ
นายเสกสรร ชูเขียว ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปมัลเบอร์รี่ บ้านป่างาม ตำบลตลิ่งชัน อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา เผยว่า หลังจากที่ราคายางตกลงอยู่ที่ราคา 3 กิโลกรัมต่อ 100 บาท ทำให้ตนตัดสินใจโค่นยางพาราทิ้ง หันมาปลูกมัลเบอร์รี่ ซึ่งเป็นพืชสร้างรายได้และ...อ่านต่อ
กลุ่มเยาวชนบ้านสุเหร่า ตำบลตลิ่งชัน อำเภอจะนะ นำทีมโดยนายอุสมาน เล๊าะและ เป็นหัวหน้า
การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ในปัจจุบันของกลุ่มสุเหร่าสวนเกษตร ได้มีการพัฒนาและกลุ่มเยาวชนบ้านสุเหร่า ตำบลตลิ่งชัน อำเภอจะนะ นำทีมโดยนายอุสมาน เล๊าะและ เป็นหัวหน้า
การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ในปัจจุบันของกลุ่มสุเหร่าสวนเกษตร ได้มีการพัฒนาและนำองค์ความรู้มาใช้ โดยมีการนำนวัตกรรมในการจัดการธาตุอาหารพืชและการควบคุมโรคโดยชีววิธี และยังมีการนำผลงานวิจัยในเรื่องของความปลอดภัยต่อผู้บริโภคผัก จากค่ามาตรฐานไนเทรตที่ไม่เกินค่ามาตรฐาน สมาชิกกลุ่มได้รับการอบรม และสาธิติวิธีการปลูก การดูแล การควบคุมโรค และการเก็บผลผลิต รวมถึงเรียนรู้กิจกรรมผ่านนักวิจัยนำองค์ความรู้มาใช้ โดยมีการนำนวัตกรรมในการจัดการธาตุอาหารพืชและการควบคุมโรคโดยชีววิธี และยังมีการนำผลงานวิจัยในเรื่องของความปลอดภัยต่อผู้บริโภคผัก จากค่ามาตรฐานไนเทรตที่ไม่เกินค่ามาตรฐาน สมาชิกกลุ่มได้รับการอบรม และสาธิติวิธีการปลูก การดูแล การควบคุมโรค และการเก็บผลผลิต รวมถึงเรียนรู้กิจกรรมผ่านนักวิจัย...อ่านต่อ
โครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ พัฒนาสังคมชุมชน
บ้านตากแดด หมู่ที่ 1 ตำบลบางเขียด อำเภอสิงหนคร ได้รับงบประมาณจากงบยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย เมื่อปี พ.ศ. 2562 โดยมีครัวเรือนเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ...อ่านต่อ
วัดหรือสถานที่ปฏิบัติธรรมอันเงียบสงบเป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่หลายคนใฝ่หา ที่พักสงฆ์สวนธรรมพัฒนาจิต เทิดพระเกียรติสมเด็จพระสังฆราช ๑๐๐ ปี ต.ทุ่งขมิ้น อ.นาหม่อม จ.สงขลา เป็นอีกหนึ่งสถานที่แนะนำที่อยู่ไม่ไกลจากเมืองหาดใหญ่ สงบ ร่มรื่น
สวนธรรมพัฒนาจิตตั้งอยู่บ้านทุ่งโพธิ์...อ่านต่อ
อภินิหารพระคู่บ้านอำเภอนาหม่อม หลวงพ่อทุ่งเมรุ
“หลวงพ่อลิ้นดำ”
หลวงพ่อลิ้นดำคู่บ้าน งานบุญว่างเดือนห้า ยางพารามากมี ทุเรียนบ้านรสดี พื้นที่เศรษฐกิจ เป็นคำขวัญเก่าแก่ ที่ผู้เขียนได้ยินมาตั้งแต่ยังเล็ก ๆ (ปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงไปแล้ว)
หลวงพ่อทวดลิ้นดำ (ทุ่งเมรุ) หรือที่ชาวบ้านเรียกกันทั่วไปว่า "พ่อท่านทุ่งเมรุ" หรือ "พ่อท่านลิ้นดำ" ชาวอำเภอนาหม่อม หรือบุคคลทั่วไปจะได้ยินกิตติศัพท์ในทางอภินิหาร ...อ่านต่อ
นายถาวร โสมกูล ศิลปินดีเด่นจังหวัดสงขลา
ช่างฝีมือ ด้านการแกะสลักรูปหนังตะลุง ...อ่านต่อ
“จิบกาแฟ แลตาลหมื่นต้น ชมนกหมื่นตัว ยลบัวหมื่นดอก สักการะหลวงพ่อเดิม เสริมบารมี”
ความงดแห่งธรรมชาติ บนพื้นน้ำ ละลานตาไปด้วย สีม่วง สีชมพู สีขาว ของดอกบัวผุดขึ้นมาอวดความเบ่งบาน สัมผัสความตระการตาและเก็บบรรยากาศสบายๆริมพรุบัวแล้วปั้นจักรยานไปรอบๆพรุบัว ฉากหลังเป็นขุนเขาตระหง่าน พรุบัวแห่งนี้เป็นจุดชมวิว ที่คนต่างถิ่นมาเยือน ต้องมีรอยยิ้มกลับไปด้วยทุกครั้ง ด้วยความประทับใจ ...อ่านต่อ
โบราณสถานวัดเชิงแสใต้ อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา หากบูรณะเสร็จเล็งขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์และมรดกทางศิลปวัฒนธรรม ที่สำคัญในท้องถิ่น
อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ ตนได้ลงพื้นที่ตรวจราชการ จ.พัทลุง และ สงขลา ได้สั่งการไปยังสำนักศิลปากรที่ 13 สงขลา เร่งดำเนินการบูรณะอุโบสถวัดเชิงแสใต้ หรือวัดหัวนอน วัดสำคัญของชุมชนคู่กันกับวัดเชิงแสเหนือและวัดเชิงแสกลาง...อ่านต่อ
โบราณวัดหนึ่งในสงขลาที่มีประวัติความเป็นมาอันยาวนานแห่งนี้ มีปูชนียวัตถุที่สำคัญ คือ "หลวงพ่อเดิม" อันเป็นพระประธานในพระอุโบสถ รวมทั้งรอยพระพุทธบาทจำลองทำจากไม้แกะสลักที่มีความกว้าง 80 เซนติเมตร และยาว 120 เซนติเมตร ซึ่งลอยน้ำมาพร้อมกับหลวงพ่อเดิม ความเก่าแก่ของวัดเอกเชิงแสนั้น กล่าวกันว่าสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อปี พ.ศ. 2100 หากถูกทิ้งร้างให้มีสภาพค่อนข้างทรุดโทรม...อ่านต่อ
ข้าวเหนียวกวนมะพร้าวอ่อนสตรีบ้านโหนด ถือเป็นผลิตภัณฑ์ของชุมชน ที่น่าสนใจของกลุ่มสตรีบ้านโหนด มีนางผิ้ว ซิ้วห้วน เป็นประธานกลุ่ม เป็นการรวมกลุ่มของสมาชิกในชุมชน ที่ใช้เวลาว่างจากการประกอบอาชีพหลัก คืออาชีพกรีดยาง เพื่อเป็นการสร้างรายได้เสริมให้กับครัวเรือน...อ่านต่อ
เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญของบ้านช่างแก้ว ซึ่งเป็นการเพิ่มเติมผลิตภัณฑ์ของกลุ่มเครื่องแกงบ้านช่างแก้ว ถือเป็นสินค้าหลักอีกชนิดหนึ่งของบ้านช่างแก้ว ชุมชนท่องเที่ยว Otop นวัตวิถี คลองหอยโข่ง สงขลา มีนางรัชดาพร จันทรัตน์ เป็นประธานกลุ่ม...อ่านเพิ่ม
บ้านสวนธนพร มีพื้นที่ประมาณ 9 ไร่ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและเป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียงแบบผสมผสานของนางสาวธนพร คงบุญ มีโฮมสเตย์บริการพร้อม มีกิจกรรมการทำผ้าบาติก,การทำน้ำพริก,ทำอาหาร,น้ำสมุนไพรสูตรต่างๆ ทำกระถางต้นไม้จากเศษผ้าขนหนู,โต๊ะ เก้าอี้จากล้อยาง...อ่านเพิ่ม
พิพิธภัณฑ์ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านคลองหอยโข่ง เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพ.ศ.2521 บนพื้นที่ 1 ไร่ ภายในบ้านของอาจารย์ปกรณ์ ไชยรัตน์ สำหรับอาจารย์ปกรณ์เป็นบุคคลที่มีความสามารถรอบด้านในเชิงศิลปะแขนงต่างๆ...อ่านเพิ่ม
ศูนย์บริการวิชาการที่ 8 จังหวัดสงขลา ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นศูนย์บริการวิชาการที่ 10 กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ถ่ายทอดความรู้ด้านการใช้พลังงานต่างๆ ที่เป็นส่วนสำคัญในการดำเนินชีวิตประจำวัน มีการศึกษาค้นคว้าพัฒนาอย่างต่อเนื่อง...อ่านเพิ่ม
โครงการฟาร์มตัวอย่างในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
ที่ตั้ง บ้านเหนือ หมู่ที่ 3 ตำบลคลองหอยโข่ง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา 90230
แนวพระราชดำริ :
“ที่ฉันทำฟาร์มตัวอย่างนี้เพื่อสอนชาวบ้านให้สะสมอาหารเพิ่มขึ้นจะได้ไม่มีปัญหาเรื่องอาหารการกินและทำฟาร์มตัวอย่าง อย่างที่ 2 คือต้องการให้ทุกๆ คนที่ข้าพเจ้าพบปะได้มีอาชี มีทางทำมาหากินคือรับเขาเข้ามาแล้วจ่ายเงินให้เขาเป็นลูกจ้าง ในฟาร์มเวลาเดียวกันเขาก็เห็นวิธีเลี้ยงเป็ดเลี้ยงแกะเลี้ยงอะไรทั้งหลายอย่าง ได้เงิน และ ได้ค่าจ้างทุกวัน ข้าพเจ้าก็บอกว่าต้องการคนงานมากๆ เพื่อให้เขาเหล่านี้ได้มีงานทำ”
ที่ตั้ง 118 หมู่ที่ 2 ตำบลคลองหอยโข่ง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา 90230
เวลาเปิด-ปิดทำการ
เปิดทำการ วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 08.30-16.30 น.
ปิดทำการ วันเสาร์-อาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์
ห้องสมุดประชาชนอำเภอคลองหอยโข่ง ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2537 โดยกรมการศึกษานอกโรงเรียน...อ่านต่อ
จากภูมิปัญญาท้องถิ่นบวกกับแนวคิดในการต่อยอดผลิตภัณฑ์ให้เหมาะกับยุคสมัย ข้าวยำม้วนซูชิจึงได้รับความสนใจจากตลาด โดยขณะนี้ได้ผลิตส่งจำหน่ายในร้านค้าสะดวกซื้อ ร้านค้าชุมชน ศูนย์แสดงและจำหน่ายสินค้าคลองหอยโข่ง ห้างเทสโก้ โลตัส สงขลา และร้านภูฟ้า...อ่านต่อ
สวนเกษตรทฤษฎีใหม่ (แบบประยุกต์) ทำนา 1 ไร่ ได้เงิน 1 แสน
ความเป็นมา
เนื่องจากคุณดวน อารมณ์ฤทธิ์ ในอดีตเมื่อครั้งยังเป็นผู้ใหญ่บ้าน มีโอกาสได้ไปศึกษาดูงาน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของรัชกาลที่ 9 ทำให้เกิดแรงบันดาลใจ จึงกลับมาทำเกษตรแบบพอเพียงในพื้นที่ 1 ไร่ 2 งาน โดยตอนแรกคุณดวนเริ่มจากการขุดสระ เพื่อกักเก็บน้ำ เพราะน้ำคือหัวใจหลักของการทำเกษตร และเริ่มปลูกพืชผักและเลี้ยงสัตว์ โดยแบ่งพื้นที่เป็นส่วนต่างๆ ให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ และมีหน่วยงานต่างๆ คอยให้คำแนะนำและช่วยเหลือเป็นระยะ...อ่านต่อ
กศน.ตำบลท่าช้าง อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา ตั้งอยู่ที่ หมู่ 17 (บ้านควนเหนือ) ห่างจากที่ว่าการอำเภอบางกล่ำประมาณ 3 กิโลเมตร ...อ่านต่อ
ท่าช้าง เดิมเป็นหมู่บ้านเล็กๆ มีคลองผ่านอุดมสมบูรณ์ ผู้คนสัญจรไปมา มีการขนส่งสินค้า โดยอาศัยช้างเป็นพาหนะ เวลาต่อมา มีกลุ่มควาญช้างได้พาช้างเดินผ่านมา และอาบน้ำให้ช้างที่คลองนี้เสมอ จึงเรียกว่า หมู่บ้านท่าช้าง...อ่านต่อ
ขนำวังยาวตั้งอยู่ที่หมู่ ๗ บ้านโล๊ะบอน ตำบลวังใหญ่ อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา พื้นที่เดิมเป็นสวนยางพารา และเจ้าของได้มีแนวคิด ในการเปลี่ยนเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตร โดยบริเวณรอบ ๆ ร้านจะมีการปลูกพืชหลากหลาย เช่น เมล่อน บัตเตอร์นัท สควอช ลำไยคริสตัล กาแฟ (โรบัสต้า อาราบิก้า) ไผ่กัวดัวร์ และยังมีการเลี้ยงปลาร่วมด้วย ได้แก่ ปลาบึกสยาม ปลาหมอชุมพร 1...อ่านต่อ
น้ำตกเขาสูง หลาย ๆ คนคงเคยได้ยินชื่อของน้ำตกแห่งนี้ น้ำตกเขาสูงตั้งอยู่ในอำเภอเทพา ห่างจากตัวเมืองเทพาประมาณ ๑๕ กิโลเมตร ห่างจากสงขลาประมาณ 65 กิโลเมตร ถ้าปักหมุดน้ำตกเขาสูงจะไม่ถึง ต้องปักว่าฝายน้ำตกเขาสูง ถ้าไปเจอฝายแสดงว่ามาถูกทางแล้ว เมื่อไปถึงเราต้องจอดรถหน้าฝายแล้วต้องเดินเท้าต่อประมาณ 1 กม. ระหว่างทางจะมีต้นไม้น้อยใหญ่ให้เราชื่นชมเต็มสองข้างทาง...อ่านต่อ
บ่อน้ำร้อน ธารน้ำเย็นบ้านควนหมาก ถือเป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวสวยงามน่าค้นหาของจังหวัดสงขลา บ่อน้ำร้อน ธารน้ำเย็นบ้านควนหมาก ตั้งอยู่บนเส้นทางสายเทพา-นาทวี ตำบลวังใหญ่ อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา เป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นทางธรรมชาติ...อ่านต่อ
ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงในตำบลวังใหญ่ ซึ่งมีอยู่ ๑๐ ศูนย์เรียนรู้ ผลผลิตที่มีอยู่ในศูนย์หนึ่งในนั้นคือถั่ว ทำให้สมาชิกมีความคิดว่าน่าจะนำมาแปรรูปจึงได้รวมกลุ่มกันทำถั่วทอด เมื่อเป็นที่ต้องการของตลาดทางกลุ่ม...อ่านต่อ
ปี ๒๕๕๙ โดยการสนับสนุนของ กศน. อำเภอเทพา แรงจูงใจที่เกิดกลุ่มขึ้นมาเกิดจากการรวมกลุ่มของศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงในตำบลวังใหญ่ซึ่งมีอยู่ ๑๐ ศูนย์เรียนรู้และผลผลิตที่มีอยู่ในศูนย์ มีปริมาณมากเช่นตะไคร้ ข่า ขมิ้น พริก ฯลฯ ทำให้สมาชิกมีความคิดว่าน่าจะนำมาแปรรูปจึงได้รวมกลุ่มกันทำน้ำพริกตาแดง...อ่านต่อ
กลุ่มส่งเสริมอาชีพกระเป๋าผ้าแฮนเมด บ้านทุ่งหรี่ แรกเริ่มเกิดจากความชอบและหลงรัก ในการตัดเย็บโดยชาวบ้าน ในชุมชนบ้านทุ่งหรี่ จำนวน ๙๕% ทำอาชีพหลักคือตัดยางทำสวน ในช่วงเช้าตรู่ของทุกวัน...อ่านต่อ
วัดดีหลวงใน ตั้งอยู่ที่ตำบลชิงโค อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๒๒๐ สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีอายุไม่ต่ำกว่า ๓๐๐ ปี และได้รับการบูรณะขึ้นใหม่ในสมัยรัตนโกสินทร์ (ช่วงรัชกาลที่ ๔-๕) เดิมชื่อ “วัดดีหลวง” ต่อมาในท้องถิ่นเดียวกันนั้นก็มีการสร้างวัดขึ้นอีกวัดหนึ่งคือ “วัดดีหลวงนอก” ตั้งแต่นั้นมาวัดดีหลวงจึงได้รับชื่อเป็น “วัดดีหลวงใน” แต่ชาวบ้านมักจะเรียกสั้น ๆ ว่า “วัดใน” วัดดีหลวงในเป็นวัดที่มีความร่มรื่นและเงียบสงบแม้ว่าจะอยู่ติดถนนใหญ่ก็ตาม ภายในวัดมีพระอุโบสถที่มีรูปแบบศิลปกรรมแบบผสมผสานไทย-จีน...อ่านต่อ
พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เกิดวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2463 ที่ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา เป็นบุตรของรองอำมาตย์โทหลวงวินิจทัณฑกรรม (บึ้ง ติณสูลานนท์) และนางวินิจทัณฑกรรม (ออด ติณสูลานนท์) เป็นบุตรคนที่ 6 ในจำนวนพี่น้อง 8 คน เข้ารับการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2469 ที่โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา หมายเลขประจำตัว 167 สำเร็จชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เมื่อปี พ.ศ.2478 เข้าศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 7 – 8 แผนกวิทยาศาสตร์ ที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย...อ่านต่อ
หัวนายแรงเป็นสถานที่ที่มีความเป็นมาที่น่าสนใจ และสร้างความท้าทายให้กับนักท่องเที่ยวที่มาที่นี่
นั่นคือการผลักก้อนหินขนาดใหญ่ที่มีความเชื่อว่ามีสมบัติของนายแรงอยู่ใต้หินก้อนนี้
และมีเรื่องเล่ามายาวนานว่า ......
✦ กาลครั้งหนึ่งที่เมืองพัทลุง มีสามีภรรยาคู่หนึ่งอยู่ด้วยกันเป็นเวลาช้านาน แต่ยังไม่มีลูก จึงพากันไปหาสมภารที่วัด สมภารจึงแนะนำให้ไปหยิบก้อนกรวดที่ริมบ่อน้ำ นำไปห่อผ้าขาววางไว้ใต้หมอนแล้วตั้งจิตอธิษฐานขอลูก ไม่ช้าภรรยาก็ตั้งครรภ์...อ่านต่อ
เกาะหนู เกาะแมว เป็นสัญลักษณ์สำคัญของจังหวัดสงขลา คู่กับแหลมสมิหลา เกาะที่อยู่ใกล้ชายฝั่งกว่ามองดูคล้ายหนูและอีกเกาะหนึ่งซึ่งอยู่ไกลออกไปคล้ายแมว เหมาะแก่การตกปลา มีนิทานเล่าถึงประวัติของเกาะหนู เกาะแมวไว้ว่า
“นานมาแล้วมีพ่อค้าชาวจีนคนหนึ่งคุมเรือสำเภาเดินทางค้าขายแถบชายทะเลจากเมืองจีนมาถึงเมืองสงขลา เมื่อขายสินค้าหมดแล้ว ก็จะซื้อสินค้าจากสงขลาบรรทุกสำเภากลับไปขายที่เมืองจีน ปฏิบัติอยู่อย่างนี้เป็นประจำ วันหนึ่ง เมื่อขายสินค้าหมดแล้วก็เข้าเมืองสงขลา เพื่อซื้อสินค้ากลับไปขายเมืองจีน ระหว่างที่เดินซื้อสินค้าอยู่นั้น พ่อค้าได้เห็นหมากับแมวคู่หนึ่งมีรูปร่างหน้าตาน่าเอ็นดู จึงขอซื้อหมากับแมวคู่นั้นเอาลงเรือไปด้วย...อ่านต่อ
ตามประวัติกล่าวว่าหลวงปู่ทวด เป็นบุตรของนายหู นางจันทร์ ชาวบ้านวัดเลียบ ตำบลดีหลวง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นทาสในเรือนเบี้ยของเศรษฐีปาน เกิดในรัชกาลของสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช เมื่อท่านมีอายุได้ประมาณ 7 ขวบ พ.ศ. 2132 บิดามารดาของท่านจึงนำท่านไปฝากไว้เป็นศิษย์วัดเพื่อเล่าเรียนหนังสือ ที่วัดกุฎิหลวงหรือวัดดีหลวงในปัจจุบัน ซึ่งเป็นวัดอยู่ใกล้บ้านท่าน ขณะนั้นมีท่านสมภารจวง ซึ่งมีศักดิ์เป็นลุงของท่านเป็นเจ้าอาวาสอยู่ เด็กชายปูเป็นเด็กที่หัวดีเรียนเก่งสามารถเล่าเรียนภาษาขอมและภาษาไทยได้อย่างรวดเร็ว สมภารจวงได้บวชให้ท่านเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ 15 ปี ตอนที่ท่านบวชเป็นสามเณรนี้เองบิดาของท่านจึงถวายลูกแก้วคืนให้แก่ท่านเป็นลูกแก้วประจำตัวท่านต่อไป...อ่านต่อ
ประวัติชุมชนตำบลทุ่งหวังหรือบ้านทุ่งหวัง เชื่อว่าเป็นการเรียกคนชื่อ นายหวัง เป็นมุสลิมที่อพยพหนีทัพมาจากการยกทัพของเจ้าเมือ...