TKP HEADLINE

กศน.ตำบลทุ่งหวัง : ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน

 


ประวัติชุมชนตำบลทุ่งหวังหรือบ้านทุ่งหวัง

            เชื่อว่าเป็นการเรียกคนชื่อ นายหวัง เป็นมุสลิมที่อพยพหนีทัพมาจากการยกทัพของเจ้าเมืองปัตตานีมาตีเมืองสงขลา พอเสร็จศึก มุสลิมกลุ่มหนึ่งอพยพหนีทัพมาทำกินในบริเวณบ้านสวนใต้ (หมู่ที่ 2 ในปัจจุบัน) และอพยพต่อไปบริเวณเขาวัง (หมู่ที่ 7 บ้านทรายขาว) ซึ่งเป็นที่ทำ มาหากินของมุสลิมบ้านทรายขาวในปัจจุบัน เดิมนายหวังเป็นชื่อของแม่ทัพแขก ตอนยกทัพมาตีเมืองสงขลาแต่ตีไม่สำเร็จ และถูกปราบปรามจึงหนีการจับกุมและ นำพรรคพวกมาตั้งรกรากขึ้น อ่านต่อ

การทำอาหารขนมไทย

 



กลุ่มสตรีการทำอาหารขนมไทย บ้านใต้ หมู่ที่ 5 เริ่มจากการส่งเสริมการศึกษาต่อเนื่องของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอสะบ้าย้อย โครงการ จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ หลักสูตรระยะสั้นการทำขนมไทย ให้กับกลุ่มแม่บ้าน ประชาชนทั่วไปและเมื่อเรียนจบหลักสูตรได้มีการผู้ที่สนใจรวมกลุ่มกันทำเป็นอาชีพขายส่งในชุมชนและตามร้านค้าต่างๆ มีสมาชิกที่รวมกลุ่ม 20 คน ประธานกลุ่ม นางรอฮานา ลอเส็น ประธานกลุ่มแม่บ้านในระยะแรกกลุ่มมีปัญหาเรื่องผลิตภัณฑ์และด้านการตลาด ต่อมาได้มีการปรับปรุงคุณภาพและรสชาติของขนมชนิดต่า งๆ ได้หลากหลายมากขึ้น มีบรรจุภัณฑ์สินค้าที่ทันสมัย และสามารถส่งขายร้านค้าในหมู่บ้านและชุมชนใกล้เคียงานใต้ หมู่ที่ 5 เริ่มจากการส่งเสริมการศึกษาต่อเนื่องของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอสะบ้าย้อย โครงการ จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ หลักสูตรระยะสั้นการทำขนมไทย ให้กับกลุ่มแม่บ้าน ประชาชนทั่วไปและเมื่อเรียนจบหลักสูตรได้มีการผู้ที่สนใจรวมกลุ่มกันทำเป็นอาชีพขายส่งในชุมชนและตามร้านค้าต่างๆ มีสมาชิกที่รวมกลุ่ม 20 คน ประธานกลุ่ม นางรอฮานา ลอเส็น ประธานกลุ่มแม่บ้านในระยะแรกกลุ่มมีปัญหาเรื่องผลิตภัณฑ์และด้านการตลาด ต่อมาได้มีการปรับปรุงคุณภาพและรสชาติของขนมชนิดต่างๆ ได้หลากหลายมากขึ้น มีบรรจุภัณฑ์สินค้าที่ทันสมัย และสามารถส่งขายร้านค้าในหมู่บ้านและชุมชนใกล้เคียง   อ่านต่อ

คลองหอยโข่ง เนรมิตหมู่บ้านไม้ดอก ไม้ประดับ


 


คลองหอยโข่ง เนรมิตหมู่บ้านไม้ดอก ไม้ประดับ สร้างรายได้หลักทดแทนการปลูกยางพารา

        เกษตรกร หมู่ 1 ตำบลคลองหอยโข่ง รวมตัวกันปลูกดอกดาวเรือง ดอกมะลิ และ ดอกดาหลาในพื้นที่ หมู่ที่ 1 ตำบลคลองหอยโข่ง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา เนื้อที่ 5 ไร่ เพื่อส่งออกจำหน่ายในพื้นที่และตลาดในพื้นที่ อำเภอหาดใหญ่ ช่วยสร้างรายได้ให้แก่กลุ่มเกษตรกร จากรายได้เสริมจึงกลายเป็นรายได้หลัก  อ่านต่อ

วัดเนินพิจิตร : พื้นที่ปฏิบัติธรรมของชุมชนตำบลพิจิตร

 


วัดเ
นินพิจิตร

วัดเนินพิจิตรสร้างขึ้นเมื่อ วันที่ 20 มกราคม พ .ศ. 2520 เป็นวัดนับตั้งแต่ พ.ศ.2358 โดยมีพระเพชร เป็นผู้ริเริ่มดำเนินการสร้างวัดนี้ เดิม ตั้งอยู่ในที่ดิน ตอนเหนือ ของที่ตั้งปัจจุบันอยู่ใกล้หมู่บ้านหนำคอก จึงได้มีนามเดิมว่า “วัดหนำคอก” อ่านต่อ

ควนคันหลาว : โฮมสเตย์ในสวนสะตอ

 


ควนคันหลาวโฮมสเตย์ในสวนสะตอ

        เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียงในเรื่องการปลูกผัก เลี้ยงผึ้ง เลี้ยงไก่ ฯลฯ ซึ่งสามารถให้ประชาชนที่สนใจได้เข้าไปศึกษาหาความรู้ในเรื่องต่างๆได้ตลอดเวลา ซึ่งทางแหล่งเรียนรู้จะมีการบรรยาย สาธิตและปฏิบัติในเรื่องของการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน อีกทั้งยังเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตบนพื้นฐานของความพอเพียง อ่านต่อ

การทำเครื่องแกง : ผลิตภัณฑ์ชุมชนตำบลพิจิตร

 


การทำเครื่องแกง

        เครื่องแกงเป็นส่วนประกอบสำคัญอย่างหนึ่งที่คนในท้องถิ่นนำมาประกอบอาหารนำมาเป็นส่วนผสมในการทำแกง เครื่องแกงมีกลิ่นหอมจากส่วนผสมมีรสชาติเผ็ดและกลมกล่อม เครื่องแกงมีหลายชนิดเช่น คั่วกลิ้ง แกงกะทิ แกงส้ม เป็นต้น เครื่องแกงประกอบไปด้วยเครื่องเทศหลายชนิด เครื่องแกงเป็นภูมิปัญญาที่สำคัญของท้องถิ่นเป็นลักษณะเฉพาะที่มีส่วนผสมแตกต่างกันไป และเนื่องจากในสมัยนี้จะมีเครื่องแกงสำเร็จรูปมากมายดังนั้นเราควรอนุรักษ์ภูมิปัญญาของท้องถิ่นไว้ เพื่อจะได้เป็นการศึกษาเรียนรู้ต่อไป ซึ่งส่วนผสมเครื่องแกงทั้งหมดก็หาได้จากในชุมชนโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ที่สำคัญยังทำให้ทุกๆคนในชุมชนที่มีความสนใจในเรื่องนี้มาร่วมกลุ่มกันทำเครื่องแกงและสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้แก่คนในชุมชนได้  อ่านต่อ

กศน.ตำบลพิจิตร : ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน

 

กศน.ตำบลพิจิตร เป็นแหล่งเรียนรู้ทางด้านการศึกษา

1.จัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่มีคุณภาพ เพื่อยกระดับการศึกษาพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายให้เหมาะสมทุกช่วงวัยและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงบริบททางสังคม และสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต อ่านต่อ

ชมนกเงือกกรามช้างปากเรียบ

 

นกเงือกกรามช้างปากเรียบ

ชมความสวยงามของนกเงือกกรามช้างปากเรียบหลังจากที่อุทยานแห่งชาติเขาน้ำค้าง อำเภอนาทวี ได้ปล่อยคลิปฝูงนกเงือกฝูงใหญ่ จนสร้างความฮือฮาให้นักนิยมดูนกและนักอนุรักษ์เป็นอย่างมาก ที่บ้านช่อนทอง ตำบลทับช้าง อ.นาทวี จ.สงขลา ซึ่งอยู่ในเขตอุทยานเขาน้ำค้าง  อ่านต่อ

สวนชายแดนใต้ วิถีพอเพียง

 

สวนชายแดนใต้ วิถีพอเพียง

นายสุชาติ ตุลยกุล หรือพี่ชาติ เป็นภูมิปัญญาด้านการเกษตรและสัตว์ของตำบลทับช้าง อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา ตั้งรกรากถิ่นฐาน ณ บ้านเลขที่ 45 หมู่ที่ 1 ตำบลทับช้าง อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา อ่านต่อ

กศน.ตำบลทับช้าง : ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน

 


กศน.ตำบลทับช้างแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต

ตำบลทับช้าง เป็นตำบลหนึ่งในเขตการปกครองของอำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา คำว่า "ทับช้าง" จากคำบอกเล่าสืบต่อกันมา ครั้งหนึ่งช้างของพระยาปัตตานี จำนวน 1 เชือก ชื่อว่าพระยาหน้าดำได้หลบหนีมา อยู่กับช้างป่าในบริเวณ บ้านทับช้าง เมื่อท่านพระยาปัตตานีสืบทราบจึงได้ยกขบวนทัพมาเพื่อล้อมจับเชือกนั้น โดยมีการตั้งเป็นเพนียดกั้นช้างมิให้หลบหนี ซึ่งปัจจุบันเรียกว่าควนค่ายช้างซึ่งใช้เวลานานหลายเดือนจึง สามารถจับช้างเชือกนั้นกลับปัตตานีได้ คำ "ทับช้าง" จึงน่าจะมาจาก "ทัพช้าง" ที่ยกมาจับช้าง   อ่านต่อ

การเลี้ยงผึ้งร่วมยางพาราและผลไม้

 



การเลี้ยงผึ้งร่วมยางพาราและผลไม้

การเลี้ยงผึ้งโพรงของชาวชุมชนตำบลทับช้างเป็นการเลี้ยงผึ้งในสวนยางพาราที่เป็นอาชีพหลักของชาวตำบลทับช้างและยังมีอาชีพเสริมอีกหลาหหลาย เช่น ผักอินทรีย์,ผลไม้อินทรีย์,สมุนไพรอินทรีย์,สถานที่โดยภาพรวมเป็นสวนยางธรรมชาติ  อ่านต่อ


สวนลุงดำ ป้าจวบ : สวนผสมผสานแบบยั่งยืน

 


สวนลุงดำ ป้าจวบ : สวนผสมผสานแบบยั่งยืน

สวนลุงดำ ป้าจวบ ตั้งอยู่ที่ตำบล สะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ทฤษฎีปลูก 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง การทำเกษตรสวนผสมผสานที่สมบูรณ์แบบสามารถดำเนินการและส่งผลสร้างความยั่งยืนให้กับครอบครัวได้โดยยึดหลักตามทฤษฎีการทำเกษตรแบบทฤษฎีใหม่ ทั้งการปลุกพืชผักสวนครัว การปลูกผลไม้ตามฤดูกาล การเลี้ยงสัตว์ อาทิ เช่น ปลา ไก่ เป็ด เป็นต้น อ่านต่อ

ห้องสมุดสาขา กศน.ตำบลนาทวี

 


ห้องสมุดสาขา กศน.ตำบลนาทวี

กระทรวงศึกษาธิการ ได้มีนโยบายดำเนินงานด้านการส่งเสริมการอ่านของประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยมุ่งหวังให้คนไทยมีนิสัยรักการอ่าน และกำหนดให้การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ พ.ศ.2552 - 2561 สำนักงาน กศน.จังหวัดสงขลา และศูนย์ กศน.อำเภอนาทวี จึงได้จัดทำโครงการขึ้นมา จัดตั้งห้องสมุดสาขา กศน.ตำบลนาทวี เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมนิสัยรักการอ่านให้แก่ประชาชน รวมถึงเป็นการสร้างโอกาสให้ประชาชนในชุมชนต่าง ๆ สามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ และสร้างความเท่าเทียมกันในการรับข่าวสารข้อมูลที่ทันสมัยและเป็นปัจจุบัน   อ่านต่อ


กศน.ตำบลคู : ศูนย์เรียนรู้ชุมชน

 


ประวัติตำบลคู หรือคูค่าย 

        ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ที่ได้รับการ ขนามนามว่า "บ้านศักดิ์สิทธิ์” ซึ่งเป็นหมู่บ้านทางผ่านของทัพเจ้าเมืองจะนะ(วังโต้)เพื่อเดินทางไปยังมณฑลสงขลา ครั้งหนึ่งเมืองจะนะถูกกองโจรมาลายูบุกโจมตี ทัพเมืองจะนะสู้ไม่ได้จึงถอยทัพมายังบ้านศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งห่างจากเมืองจะนะประมาณ 10 กิโลเมตร โดยเจ้าเมืองจะนะเห็นว่าบ้านศักดิ์สิทธิ์ มีทำเลเหมาะสมในการก่อตั้งค่าย จึงได้ก่อตั้งค่ายพร้อมระดมพล เพื่อขุดคูป้องกันการโจมตีจากข้าศึก และ เรียกว่า”บ้านค่าย” ( บ้านค่ายในปัจจุบันอยู่ในหมู่ที่ 1 ซึ่งเป็นสวนยางพารา อยู่หลังที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลคู)   อ่านต่อ

กศน.ตำบลคลองเปียะ : ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน

ประวัติความเป็นมา

ตุลาคมปี พ.ศ. 2548 ทางศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอจะนะ ได้เปิดรับสมัครครูศูนย์การเรียนชุมชนตำบลคลองเปียะ เพื่อขยายการปฏิบัติงานให้ครอบคลุมพื้นที่ให้มากที่สุดและจากการเปิดรับสมัครก็ได้คัดเลือก นางปราณี เซ่งยิ่น มาเป็นครูศูนย์การเรียนชุมชนตำบลคลองเปียะ โดยทางครูศูนย์การเรียนชุมชนได้ลงไปประชุมผู้นำชุมชนในตำบลคลองเปียะได้ลงความคิดเห็นกันว่าจะใช้อาคารของมหาวิทยาลัยชาวบ้านที่มีอยู่แล้ว เป็นส่วนหนึ่งของศูนย์การเรียนชุมชนตำบลคลองเปียะ  อ่านต่อ

 

กุ้งหวานกระแสสินธุ์ @ เกาะใหญ่

 

กุ้งหวานกระแสสินธุ์ @ เกาะใหญ่

กุ้งหวาน ทำจากกุ้งตัวเล็กๆ ที่ชาวบ้านตำบลเกาะใหญ่ อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา เรียกกันว่ากุ้งนา โดยจะนำกุ้งมาแปรรูป จนได้เป็นกุ้งที่มีสีแดงเหลืองทอง หอมหวานน่ารับประทาน ซึ่งนอกจากจะเป็นการถนอมอาหารที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษแล้ว ยังเป็นการเพิ่มมูลค่าด้วย อ่านต่อ

กศน.ตำบลสะพานไม้แก่น : ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน

 

ประวัติความเป็นมาของ กศน.ตำบลสะพานไม้แก่น

เดิมศูนย์การเรียนชุมชนตำบลสะพานไม้แก่น เริ่มก่อตั้งในปี พ.ศ.2538 ตามประกาศจัดตั้งศูนย์การเรียนชุมชนขึ้นในตำบลสะพานไม้แก่น โดยใช้ห้องสมุดในค่ายตำรวจตระเวนชายแดนที่ 432(ศอน.)ตำบลสะพานไม้แก่น อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา โดยใช้เป็นสถานที่พบกลุ่มจัดการเรียนการสอน ลักษณะที่ตั้ง เป็นอาคารไม้เก่า ซึ่งทางเจ้าหน้าที่จัดให้เป็นสถานที่พบกลุ่ม จัดกิจกรรมการเรียนการสอน และกิจกรรมอื่นๆให้กับนักศึกษาในศูนย์       อ่านต่อ

กศน.ตำบลคลองกวาง : ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน

 

กศน.ตำบลคลองกวาง

ตั้งอยู่ที่ บริเวณองค์การบริหารส่วนตำบลคลองกวาง หมู่ที่ ๓ บ้านช้างไห้ตำบลคลองกวาง อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา

สังกัด

     ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอนาทวี ตั้งอยู่ที่ บริเวณที่ว่าการอำเภอนาทวี ตำบลนาทวี อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา รหัสไปรษณีย์ ๙๐๑๖๐

โทรศัพท์ ๐-๗๔๓๗ - ๓๑๖๗ โทรสาร ๐- ๗๔๓๗-๓๑๖๗ 

E – mail natawee_nfe@windowslive.com

อ่านต่อ

กศน.อำเภอเมืองสงขลา : “วิสัยทัศน์ก้าวไกล ใส่ใจการเรียนรู้ คู่คุณธรรม”

 

กศนงอำเภอเมืองสงขลา

สถานศึกษาได้กำหนดทิศทางการดำเนินงานไว้ในแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาและแผนปฏิบัติการประจำปี โดยได้ดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปี และมีผลการดำเนินการ ดังนี้

ทิศทางการดำเนินงานของสถานศึกษา

ปรัชญา

“วิสัยทัศน์ก้าวไกล ใส่ใจการเรียนรู้ คู่คุณธรรม”

วิสัยทัศน์

ประชาชนอำเภอเมืองสงขลา ได้รับการศึกษาตลอดชีวิตอย่างทั่วถึง ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มุ่งสู่ประชาคมอาเซียน

อ่านต่อ

กศน.ตำบลบ่อยาง : ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน

 


กศน.ตำบลบ่อยาง
ที่ตั้ง ณ วัดสระเกษ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลาจังหวัดสงขลา 90000E-Mail : boyang.nfe@gmail.com

อ่านต่อ

กศน.ตำบลป่าขาด : ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน

 

กศน.ตำบลป่าขาด

ที่ตั้ง หมู่ที่ 2 ตำบลป่าขาด อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา 90280

ครูผู้รับผิดชอบ กศน.ตำบลป่าขาด นางสาววิลันดา บุญรังษี

เบอร์ติดต่อ 086-9620242 อ่านต่อ

กศน.ตำบลทุ่งตำเสา : ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน

 

ประวัติความเป็นมา

ในอดีตเล่ากันว่า ตำบลทุ่งตำเสาเป็นพื้นที่ที่มีต้นตำเสาขึ้นอยู่เต็มทุ่งกว้าง บริเวณที่ตั้งของหมู่บ้านในตำบลทุ่งตำเสา เป็นพื้นที่ทุรกันดารมากและราษฎรตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่เป็นจำนวนน้อย องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งตำเสา เคยตกอยู่ภายใต้เขตอิทธิพลของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2519 ในยุคที่เกิดสงครามเย็น การก่อการร้ายมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น หลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 เมื่อมีการปราบปรามนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในยุครัฐบาล นายธานินทร์ กรัยวิเชียร โดยเฉพาะเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทุ้งตำเสาเคยเป็นเขตพื้นที่สีแดง ซึ้งมีเขตและฐานที่มั่นของ ผกค. ที่บ้านวังพามีความเชื่อมโยงกับพื้นที่ของจังหวัดพัทลุงและสุราษฎร์ธานีโดยเฉพาะค่าย 508 ตำบลพรุพี อำเภอนาสาร จังหวัดสูราษฎร์ธานี และการก่อการร้ายได้ยุติลงเมื่อสิ้นสุดสงครามเย็นในปี ค.ศ.1989 และรัฐบาลได้นำนโยบาย 66/23 (ใต้ร่มเย็น) ทำให้สิ้นสุดการต่อสู้ลัทธิคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย โดยเฉพาะการล่มสลายของสหภาพโซเวียต รัสเซีย และยุโรปตะวันออก

ในปัจจุบันตำบลทุ่งตำเสาตั้งอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอหาดใหญ่ เป็นพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ในอำเภอหาดใหญ่มีพื้นที่ 114.43 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 71,518.12 ไร่ ซึ่งประกอบด้วยหมู่บ้านจำนวน 10 หมู่บ้านได้แก่ บ้านทุ่งเลียบ บ้านทุ่งตำเสา บ้านหูแร่ บ้านนายสี บ้านโฮ๊ะ บ้านนาแสน บ้านพรุชบา บ้านท่าหมอไชย บ้านวังพาและบ้านเกาะมวง


ที่อยู่ กศน.ตำบลทุ่งตำเสา หมู่ 10 บ้านเกาะมวง ตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา อ่านต่อ

กศน.ตำบลตลิ่งชัน : ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน

ความเป็นมา

**อาคาร กศน.ตำบลตลิ่งชัน ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2552 เดิมใช้ชื่อว่า ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลตลิ่งชัน โดยได้รับความอนุเคราะห์ใช้พื้นที่อาคารเอนกประสงค์ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งตั้งอยู่ที่หมู่ 2 ตำบลตลิ่งชัน อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

**ต่อมา เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2558 ได้รับความอนุเคราะห์อาคารองค์การบริหารส่วนตำบลตลิ่งชัน ให้เป็น กศน.ตำบลตลิ่งชัน โดยได้รับความร่วมมือจากนักเรียน นักศึกษา ประชาชนในพื้นที่ในการพัฒนาอาคารตลอดจน ครู กศน. องค์การบริหารส่วนตำบลตลิ่งชัน และหน่วยงานต่างๆ มาร่วมจัดกิจกรรมและพัฒนา กศน.ตำบลตลิ่งชัน

** ปัจจุบัน กศน.ตำบลตลิ่งชัน ตั้งอยู่ หมู่ที่ 4 ตำบลตลิ่งชัน อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา  อ่านต่อ

 

กศน.ตำบลคลองแห : ศูนย์การเรียนชุมชน

 

ประวัติตำบลคลองแห

ในสมัยที่ก่อสร้างพระบรมธาตุที่นครศรีธรรมราชเมื่อก่อสร้างเสร็จก็จะมีพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุและมีการเฉลิมฉลองได้มีการส่งข่าวไปยังหัวเมืองต่างๆ เช่นกลันตัน ไทรบุรี ตรังกานูเปอริสก็ได้จัดขบวนมาร่วมพิธีมหาบุญ บางก็ไปทางน้ำใช้เรือทางบกใช้ม้าใช้เกวียนเดินเท้าฯลฯ หัวเมืองกลันตันเดินทางทางเรือพร้อมด้วยแก้วแหวนเงินทองของมีค่าที่ผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคเพื่อนำไปบรรจุในเจดีย์เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา สิ่งของมีค่าได้บรรจุไว้ในไหบ้าง หีบบ้างที่มีค่ามากบรรจุในนกคุ่มเงินนกคุ่มทอง มีความเชื่อว่านกคุ่มเป็นบ่อเกิดแห่งโชคลาภและเพื่อพรางตาจากโจรผู้ร้ายเพราะดูคล้ายเครื่องประดับสวยงามบนเรือตลอดทางได้ตีฆ้องร้องเป่าให้ผู้คนได้ร่วมโมทนาบุญ   อ่านต่อ

บ้านหนังสือชุมชน : แหล่งเรียนรู้ใกล้บ้าน

 


บ้านหนังสือชุมชน : ตำบลดีหลวง
       “บ้านหนังสือชุมชน” หมายถึง บ้านที่เจ้าของบ้านหรือสถานที่ได้อุทิศให้ใช้เป็นห้องสมุดประชาชนของชุมชน ได้แก่ ร้านอาหารและเครื่องดื่ม ร้านค้า ร้านขายของ บ้านผู้มีจิตอาสา บ้านผู้นาชุมชน สถานประกอบการ ศาลาเอนกประสงค์ โรงพยาบาล มีเจ้าของบ้านเป็น ผู้มีจิตอาสาให้บริการดูแลเอาใจใส่ และเป็นสถานที่ที่เป็นศูนย์กลางของชุมชนที่มีคนในชุมชน มาพบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน อ่านต่อ

หาดสะกอม

 



หาดสะกอม ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 บ้านปากบางสะกอม ทอดยาวถึง หมู่ที่ 8 บ้านเขาน้อย เดิมเรียกตามภาษาท้องถิ่นว่า “อ่าวโหล๊ะม่วง” แต่ชาวบ้านในระแวกนี้เรียกติดปากกันว่า “หาดปากบาง” ต่อมาภายหลังได้เรียกอย่างเป็นทางการว่า “หาดปากบางสะกอม” หรือ "หาดสะกอม" อ่านต่อ

กศน.ตำบลสะกอม : ศูนย์เรียนรู้ชุมชน

 

ความเป็นมา

ตั้งอยู่ ณ ศาลาเอนกประสงค์ ภายในบริเวณวัดคงคาสวัสดิ์ หมู่ 5 บ้านท่าแมงลัก โดยสถานที่นี้เป็นที่ทำการ กศน.ตำบลสะกอม สังกัด กศน.อำเภอเทพา สำนักงาน กศน.จังหวัดสงขลา โดยให้บริการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ในระดับ ประถม ม.ต้น และ ม.ปลาย การศึกษาต่อเนื่อง หลักสูตรระยะสั้น กิจกรรมผู้สูงอายุ กิจกรรมส่งเสริมการอ่านและนโยบายเร่งด่วน อ่านต่อ

กศน.ตำบลทุ่งใหญ่ : ศูนย์เรียนรู้ชุมชน

 


ความเป็นมา 
        เดิมก่อนตั้งเป็นตำบล เมื่อ พ.ศ.2475 เรียกชื่อหมู่บ้านนี้ว่า บ้านทุ่งใหญ่ มีอาณาบริเวณที่กว้างลาดเชิงเขา กลุ่มคนที่เข้ามาอาศัยเป็นกลุ่มแรก เป็นเชื้อสายไทยพุทธ และมุสลิมบางส่วน ต่อมาชาวมุสลิมแต่งงานอยู่กินกับชาวไทยพุทธจนปัจจุบันกลายเป็นชาวไทยพุทธ 100 เปอร์เซ็นต์ จากการบอกเล่าของนายเฉลียว แก้วสิ้นสุด อดีตกำนันตำบลทุ่งใหญ่ เล่าว่า เดิมทวดก็เป็นชาวมุสลิมหลังจากแต่งงานแล้วอยู่มากลายเป็นไทยพุทธหมด คนกลุ่มแรกเข้ามาตั้งรกรากในแถบบ้านพรุเตาะ (หมู่ที่ 3,4,5 ปัจจุบัน) ทำให้ละแวกหมู่บ้านดังกล่าวมีความเจริญ และเป็นแหล่งชุมชนตลอดมา เห็นได้จากละแวกบ้านนี้มีวัด และหน่วยงานราชการซึ่งเป็นศูนย์กลางของตำบลทุ่งใหญ่มาตลอดทุกวันนี้ อ่านต่อ

กศน.ตำบลคอหงส์ : ศูนย์เรียนรู้ชุมชน

 


ความเป็นมา
- จัดตั้งเมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๓ ณ อาคารพัฒนาเด็กเล็กบ้านทุ่งโดน ชั้น ๒ หมู่ที่ ๖ (บ้านทุ่งโดน) ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
- ปี พ.ศ.๒๕๕๖ย้ายสถานที่ตั้ง ณ อาคารเอนกประสงค์บ้านคลองหวะ (หลังเก่า) หมู่ที่ ๕ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
- ปี พ.ศ.๒๕๕๗ – เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๙ ย้ายสถานที่ตั้ง ณ อาคารเอนกประสงค์บ้านคลองหวะ(อนุสรณ์กำนันวรณ์) หมู่ที่ ๕ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
- เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๙ – ปัจจุบัน โรงเรียนบ้านคลองเปล ซอย ๔ ถนนกาญจนวนิช ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา อ่านต่อ

“ห้องสมุดประชาชนอำเภอบางกล่ำ” กับชีวิตวิถีใหม่

E:\งานห้องสมุด 64\ภาพกิจกรรม 64\บรรยากาศภายในและภายนอก\มุมออนไลน์\อบรมออนไลน์_๒๑๐๙๐๑_5.jpg


หากเราจะดูกันที่ “ความหมายของห้องสมุดประชาชน”  เป็นที่ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศแก่ประชาชนในท้องถิ่นโดยไม่จำกัดวัย ระดับความรู้ เชื้อชาติและศาสนา เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนแต่ละแห่ง เป็น การส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองตลอดชีวิตของประชาชนในชุมชน


E:\งานห้องสมุด 64\ภาพกิจกรรม 64\บรรยากาศภายในและภายนอก\มุมออนไลน์\อบรมออนไลน์_๒๑๐๙๐๑_4.jpg

จากเป้าหมายของนโยบายการอ่านในช่วงแรก คือการลดอัตราการไม่รู้หนังสือจึงต้องเปิดช่องทางให้คนมีโอกาสเข้าถึงหนังสืออย่างกว้างขว้าง ที่เน้นการเข้าถึงความรู้ผ่านการศึกษาในระบบและนอกระบบ ตลอดทั้งการใช้ห้องสมุดทุกประเภท 


“New Normal” คืออะไร?

ราชบัณฑิตยสภา ได้บัญญัติศัพท์ "New Normal“ แปลว่า ความปกติใหม่ , ฐานวิถีชีวิตใหม่ หมายถึง รูปแบบการดำเนินชีวิตอย่างใหม่ที่แตกต่างจากอดีต อันเนื่องจากมีบางสิ่งมากระทบ จนแบบแผน และแนวทางปฏิบัติที่คนในสังคมคุ้นเคยอย่างเป็นปกติและเคยคาดหมายล่วงหน้าได้ ต้องเปลี่ยนแปลงไปสู่วิถีใหม่ภายใต้หลักมาตรฐานใหม่ที่ไม่คุ้นเคยรูปแบบวิถีชีวิตใหม่ ประกอบด้วย

1. วิธีคิด

2. วิธีเรียนรู้

3. วิธีสื่อสาร

4. วิธีปฏิบัติและการจัดการ

 E:\งานห้องสมุด 64\ภาพกิจกรรม 64\บรรยากาศภายในและภายนอก\มุมออนไลน์\อบรมออนไลน์_๒๑๐๙๐๑_6.jpg


ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) เป็นแนวทางที่หลาย ๆ คนจะต้อง ปรับเปลี่ยนชุดพฤติกรรม ในช่วงไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ระบาดแล้วเปลี่ยนชีวิตเราไปอีกนาน ทำให้เราต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบวิถีชีวิตไปพร้อมกันทั่วโลก จากที่เราเคยออกจากบ้าน เพื่อไปทำงาน ไปโรงเรียน เราต้องหันมาทำทุกอย่างที่บ้าน หากมีความจำเป็นต้องออกจากบ้านไปซื้อของหรือแม้กระทั่งไปพบแพทย์ เราต้องใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันโรคต้องเว้นระยะห่างสำหรับบุคคล ล้างมือบ่อยๆนาน 20 วินาที ล้างมือด้วยแอลกอฮอล์ รวมถึงการปรับเปลี่ยนทางด้านธุรกิจและบริการต่าง ๆ การเปิดระบบลงทะเบียนออนไลน์ การใช้ระบบซื้อขายและบริการทางออนไลน์

  สิ่งนี้ เกิดเป็นวิถีใหม่ในการดำรงชีวิต ซึ่งเมื่อเราจำต้องปฏิบัติกันเป็นปกติต่อเนื่องในระยะเวลาหนึ่ง จนเกิดเป็นความพอใจ ในที่สุดทั้งหมดนี้ก็ได้กลายเป็น New Normal ในสังคมของเราท่านไปนั่นเอง 


E:\งานห้องสมุด 64\ภาพกิจกรรม 64\บรรยากาศภายในและภายนอก\มุมออนไลน์\อบรมออนไลน์_๒๑๐๙๐๑_7.jpg

ห้องสมุดถือเป็นอีกหนึ่งการให้บริการที่ต้องมีการปรับตัว เพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ของโควิด-19 โดยเน้นการทำความสะอาดหนังสือและพื้นที่ห้องสมุดอยู่เสมอ เน้นให้บริการผ่านรูปแบบออนไลน์มากขึ้น พร้อมเพิ่มบริการที่หลากหลาย เพื่อลดความเสี่ยงจากโควิด-19


ข้อคิดเห็นจากเครือข่าย TKP

 
Copyright © 2018 ศูนย์ข้อมูลความรู้ประชาชนจังหวัดสงขลา. Designed by OddThemes > Developed by mediathailand